มือใหม่หัดลงทุน : ว่าด้วยเรื่องของกองทุนรวม
สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นลงทุน แต่ไม่รู้จะบริหารจัดการยังไง กองทุนรวม (Mutual fund) เป็นทางเลือกการลงทุนทางหนึ่ง โดยกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุน ที่เป็นมืออาชีพ นำเงินลงทุนเราไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายของกองทุน
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญบริหารกองทุน แต่กองทุนรวมก็ยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนทั่วไป
สิ่งที่เราควรรู้ก่อนการลงทุน
1. สำรวจตัวเอง : ผู้อ่านอาจมองถึงวัตถุประสงค์การลงทุน เพราะแต่ละกองทุนรวมก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน และเหมาะกับวัตถุประสงค์คนละแบบ เช่น
2. สำรวจความเสี่ยงที่่รับได้ : ในชีวิตเรามีความเสี่ยงแทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะขับรถออกไปข้างนอก หรือการเดินอยู่ข้างถนน ก็เสี่ยงที่จะมีรถมาชน หรือเดินอยู่ดีๆ ก็เสี่ยงหกล้มได้ กองทุนก็เหมือนกัน
ซึ่งแต่ละกองทุนก็มีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ถ้าเราแบ่างตามแบบฉบับประเทศไทย ก็จะแบ่งกองทุนรวมออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ตามระดับความเสี่ยงจากน้อยไปหามาก ดังนี้
ความเสี่ยงระดับ 1 : กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ เป็นการกู้เงินระยะสั้น (ตราสารหนี้) ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จากรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากหน่วยงานที่ให้กู้ มีความน่าเชื่อถือ และมั่นคงสูง
ความเสี่ยงระดับ 2 : กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ เหมือนกับประเภทที่ 1 แต่อาจมีลงทุนในต่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาด้วย
ความเสี่ยงระดับ 3 : กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล เป็นการลงทุนให้รัฐบาลกู้ระยะยาว มีความผันผวนเรื่องราคามากกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน
ความเสี่ยงระดับ 4 : กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นการลงทุนให้เอกชนกู้ (หุ้นกู้)
ความเสี่ยงระดับ 5 : ดองทุนรวมผสม เป็นการลงทุนผสมผสานระหว่างตราสารหนี้ และตราสารทุน (หุ้น) สัดส่วนตามนโยบายของแต่ละกองทุนที่กำหนดขึ้น
ความเสี่ยงระดับ 6 : กองทุนรวมตราสารทุน เป็นการลงทุนในหุ้นนั่นเอง
ความเสี่ยงระดับ 7 : กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม เป็นการลงทุนในหุ้นที่เจาะจงกลุ่มอุตสาหกรรม เช่นหุ้นโรงพยาบาล, หุ้นพลังงาน เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจของแต่ละอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วย
ความเสี่ยงระดับ 8 : กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น เช่น สินค้าโภคภัณฑ์, ทองคำ, น้ำมัน, สินค้าเกษตร เป็นต้น
นอกจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน ความเสี่ยงที่รับได้แล้ว ยังต้องดูถึงความพร้อมทางด้านการเงิน เพื่อหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง
3.เลือกกองทุนรวมที่ใช่ ผู้อ่านอาจดูที่ “Fund Fact Sheet” ซึ่งจะบ่งบอกนโยบายการลงทุนเป็นยังไงลงทุนอะไร ขนาดกองทุน จ่ายปันผลหรือไม่ ขั้นต่ำในการซื้อ และค่าธรรมเนียมต่างๆ
และอย่าลืมดูผลตอบแทนย้อนหลังมีความสม่ำเสมอหรือไม่ มีความเสี่ยงระดับไหน ซึ่งสามารถดูได้จากค่า S.D. (Standard Deviation) ค่ายิ่งสูง แปลว่ายิ่งเสี่ยง หรือเปรียบเทียบค่า Sharp Ratio กับกองทุนประเภทเดียวกันกองอื่น กองไหน Sharp Ratio สูงกว่า แสดงว่ากองนั้นดีกว่า ซึ่งเดี๋ยวนี้เราไม่ต้องคำนวณเองก็ได้ เพราะเว็บไซต์ www.wealthmagic.com และ www.morningstarthailand.com ก็มีคำนวณให้กับเราแล้ว
4.เปิดบัญชีซื้อขาย เลือกช่องทางที่สะดวกและเหมาะสมกับไลฟสไตล์เรา
5.ติดตามผลการดำเนินงาน โดยดูผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) และเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานกับกองทุนรวมของ บลจ.อื่นที่มีนโยบาเดียวกัน เพื่อดูถึงการสร้างผลตอบแทนของกองทุนเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น