2 ปัญหาหลัก ที่ทำให้เราไม่มีเงินเก็บ
ย้อนกลับไปเมื่อก่อนนี้ สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ยังมีราคาถูก เงิน 1 บาทสามารถซื้อของได้หลายชิ้น แต่เดี๋ยวนี้ลูกอม 2 เม็ดยังคงหาซื้อยากในราคา 1 บาท หรือว่าเมื่อก่อนทองบาทละ 4,000 แต่เดี๋ยวนี้ทองบาทละ 20,000 จะเห็นว่าราคามันเพิ่มขึ้นมา 4-5 เท่า นั่นแปลว่าเมื่อเวลาผ่านไป เราต้องใช้เงินซื้อสิ่งๆ เดิมในราคามากขึ้น หรือบริโภคได้น้อยลงเมื่อเทียบกับเงินจำนวนเท่าเดิมในสมัยก่อน เราเรียกสิ่งนี้ว่าเงินเฟ้อ
ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากจะอยู่ประมาณที่ 1-2% เท่านั้น แต่เงินเฟ้อจะอยู่แถวๆ 3% นั่นหมายความว่าถ้าเราเอาแต่ฝากเงินอย่างเดียว เงินในกระเป๋าเราก็มีแนวโน้มลดลงอยู่ดี ซึ่งก็ถือเป็นความเสี่ยงทางการเงินอย่างหนึ่ง ดังนั้นเราถึงต้องมีการบริหารการเงินเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้
แต่มนุษย์เงินเดือน ที่ใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือนก็ยากพอแล้ว แล้วจะเอาเงินไหนมาเก็บ แค่เปลี่ยนพฤติกรรม เราก็มีเงินเก็บได้ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาในการเก็บเงินมี 2 ข้อหลักดังนี้
1.
พฤติกรรมการใช้จ่ายส่วนตัว
โลกทุกวันนี้มันเร็วไปหมด มีเวลาให้คิดตัดสินใจน้อย และทุกอย่างง่ายขึ้นมาก
เวลาอยากได้อะไรก็ไม่ต้องไปเดินหา แค่เปิดดูในเน็ต แล้วก็สั่งซื้อ โอนเงินผ่าน internet
banking ต่างๆ ก็ได้ ทำให้รายจ่ายบานปลาย กระเป๋าเงินรั่วไม่รู้ตัว
ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรทำคือการควบคุมรายจ่าย อาจจะใช้บัญชีจดรายรับ – รายจ่าย เพื่อหารูรั่วของกระเป๋าตังเรา แล้วอุดรอยรั่วนั่นซะ
2. ไม่มีแผนการเงิน เงินเดือนออก วันแรกๆ ก็หมดไปกับรายจ่ายจำเป็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ และรายจ่ายแปรผัน ที่เป็นไปตามกิเลส ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ไปเที่ยว สังสรรค์ ทำให้พอถึงสิ้นเดือนก็แทบไม่มีเงินเหลือ เราสามารถมีเงินเก็บได้ง่ายๆ แค่เปลี่ยนสมการจาก
รายได้ – รายจ่าย = เงินลงทุน
รายได้ – เงินลงทุน = รายจ่าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น