ทำไมเราถึงง่วงนอน แล้วทำไมเราถึงต้องนอน


            การนอนหลับถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญของร่างกาย ในช่วงเวลาที่เราหลับลึกร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Growth hormone ออกมาเพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟูร่างกาย และในวัยเด็ก Growth hormone ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตอีกด้วย ซึ่งในแต่ละช่วงอายุจะมีเวลาที่ควรนอนหลับต่างกัน เนื่องมาจากความแตกต่างในการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย

            ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ

            1. ระยะเวลาที่ตื่นนอน เนื่องจากขณะตื่นสมองจะมีการผลิตสารอะดรีโนซีน (Adrenosine) และสะสมในสมอง ยิ่งเราตื่นนอนมาแล้วหลายชั่วโมง สารเคมีตัวนี้ก็จะยิ่งมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน

            2. นาฬิกาชีวิต (Biological clock) หรือจังหวะชีวิตของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนที่หลั่งในเวลาต่างๆ ไม่เท่ากันอย่างตอนกลางคืนจะมีฮอร์โมนเมลาโทนิน (Malatonin) หลั่งออกมาเพื่อให้หลับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

            3. ความมืด และความสว่างโดยอาศัยดวงตาเป็นตัวรับ คือ ถ้ามืดนาฬิกาชีวภาพของเราก็จะเริ่มส่งสัญญาณให้มีการสร้างฮอร์โมน เมลาโทนิน (Malatonin) ออกมาโดยสมองส่วน Pineal Gland แต่พอตอนเช้าก็จะส่งสัญญาณให้ลดสารเมลาโทนิน (Malatonin) ในเลือดและสมองลง

            ที่นี้เมื่ออาการง่วงนอนเกี่ยวข้องกับการสะสมสารเคมีภายในสมองที่เรียกว่า adenosine ยิ่งมีระดับของ adenosine มากขึ้นเท่าไหร่ ระดับความง่วงนอนก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ที่น่าสนใจก็คือคาเฟอีนมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ adenosine ภายในสมอง ซึ่งหากเราไม่ได้นอนอาจจะมีผลต่อความไม่สมดุลทางฮอร์โมน หรืออาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการอดนอน มาจากการเก็บสะสมของเสียไว้ในสมอง เนื่องจากในช่วงที่เราตื่นจะมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นตามไปด้วยรวมถึงสารอะดรีโนซีน ซึ่งถ้าหากของเสียเหล่านั้นไม่ถูกกำจัดออกไปจากสมอง มันจะค่อยๆล้นจนส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่เมื่อเราหลับจะมีระบบทำความสะอาดที่จะมากำจัดของเสียที่ถูกเก็บสะสมไว้ในสมอง ที่เรียกว่า Glymphatic System นั่นเอง

 

แหล่งข้อมูล

            signorscience

           tingtongbear.wordpress


ความคิดเห็น