คาเฟอีนทำงานยังไง และทำไมกินกาแฟแล้วยังรู้สึกง่วงนอน

 

            คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารจากพืชที่มีอยู่ในเมล็ดกาแฟ ปริมาณคาเฟอีนที่มีจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และกรรมวิธีในการเตรียม เช่น เมล็ดกาแฟที่คั่วจนมีสีเข้มจะมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ดที่คั่วไม่นาน เนื่องจากคาเฟอีนสามารถสลายตัวไปได้ระหว่างการคั่ว เป็นต้น ซึ่งคาเฟอีน (Caffeine) มันจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัว และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง โดยขัดขวางการทำงานของสารเคมีที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนที่ชื่อว่าอะดรีโนซีน (Adrenosine)

            อะดรีโนซีน (Adrenosine) ได้มาจากการสลายสารพลังงานสูงที่ชื่อว่า ATP (Adenosine triphsosphate) ได้เป็นพลังงานออกมาใช้ในร่างกาย ซึ่งในกระบวนการนี้ร่างกายจะมีการปล่อยอะดรีโนซีน (Adrenosine) ออกมาด้วย และเมื่ออะดรีโนซีน (Adrenosine) จับกับตัวรับที่ระบบประสาทจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ส่งผลให้ระบบประสาททำงานช้าลง และทำให้ง่วงนอนนั่นเอง

            ส่วนคาเฟอีน (Caffeine) จะมีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับอะดรีโนซีน (Adrenosine) มันจะขัดขวางการทำงานของอะดรีโนซีน (Adrenosine) โดยการจับกับตัวรับที่ระบบประสาทแทนที่อะดรีโนซีน (Adrenosine) และทำให้เรารู้สึกตื่นตัว

            แต่เมื่อเราดื่มกาแฟไปนานๆ ร่างกายมักมีการปรับตัว โดยการสร้างตัวรับเพิ่ม ทำให้กาแฟปริมาณเท่าเดิมไม่สามารถแทนที่อะดรีโนซีนได้หมด เราจึงยังรู้สึกง่วงนอนเหมือนเดิม และต้องเพิ่มปริมาณกาแฟมากขึ้น

            แต่การบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เราเสพติดได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หรือใจสั่น และผู้บริโภคที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมากๆ ในคราวเดียว อาจส่งผลให้เกิดภาวะพิษคาเฟอีน (Caffeine intoxication) เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นมาก ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ แต่เมื่อเราหยุดทานหลังจากติดมาเป็นเวลานาน ร่างกายอาจจะรู้สึกไม่สบายตัว เพราะเมื่อเราหยุดกาแฟจะทำให้อะดรีโนซีนไม่มีคู่แข่งในขณะที่มีตัวรับมากขึ้นกว่าปกติ คุณอาจรู้สึกเหนื่อย อ่อนล้า และหดหู่ได้ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ร่างกายก็จะเริ่มปรับตัวกลับมาเป็นเหมือนเดิม

 

แหล่งที่มา : Ted-Ed, Wikipedia

ความคิดเห็น