ว่าด้วยเรื่องของ “นม”

 

            นมถือเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มีประโยชน์มาก เราบริโภคนมกันตั้งแต่เด็กๆ ในนมประกอบไปด้วยสองส่วนหลักๆ คือ น้ำ กับ ส่วนของของแข็ง 2 ตัว คือ ไขมัน (butterfat) กับของแข็งที่ไม่ใช่ไขมัน(Solid Not Fat) ซึ่งได้แก่ โปรตีน น้ำตาล แร่ธาตุ และวิตามิน

            สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถผลิตนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สายพันธุ์ การกิน และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แต่โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์นมที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกระเพาะ 4 ส่วน ทำให้สามารถผลิตนมในปริมาณมากได้ และจากสัตว์ทังหมด วัวถือเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายที่สุด และมีค่าไขมันใกล้เคียงกับของมนุษย์

            แต่เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคนมของมนุษย์ที่มีมาก โรงงานต่างๆ จึงได้มีหาวิธีการเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์นม เช่น

            เครื่องปั่นเหวี่ยงเพื่อแยกไขมันออกจากน้ำนม สิ่งที่ได้ออกมา คือ นมพร่องมันเนย (Skim milk) และไขมัน (Butterfat) ซึ่งสามารถนำไปทำเนย ครีม ชีส หรือเติมกลับเข้าไปในนมใหม่เพื่อให้ได้ค่าองค์ประกอบในน้ำนมตามที่ต้องการ

            และเพื่อจะหยุดยั้งการแยกตัวของน้ำกับไขมัน จึงมีกระบวนการโฮโมจิไนเซชั่น (Homoginization) ขึ้น โดยจะอาศัยแรงดันบีบอัดไขมันให้แตกเป็นเม็ดเล็กๆ ก่อนเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา โดยลดระดับจุลชีพที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียลงด้วยความร้อน

            การฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์นมด้วยความร้อนที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

            1. การฆ่าเชื้อด้วยวิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pastuerizaation) เป็นการลดระดับเชื้อจุลินทรีย์ และฆ่าเชื้อก่อโรคเท่านั้น ดังนั้นในนมพาสเจอร์ไรส์จะยังมีจุลินทรีย์อยู่บางส่วน เมื่อมีการเจริญเติบโตจึงทำให้นมเสียได้ นมพาสฯจึงต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และมีอายุไม่เกิน 14 วัน แต่ทั้งนี้เนื่องจากมีการใช้ความร้อนที่ไม่สูงมาก ทำให้คุณค่าทางโภชนาการยังสูง และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

            2. การฆ่าเชื้อแบบยูเอชที (Ultra-High Temperature processing) จะใช้อุณหภูมิสูงกว่าพาสเจอร์ไรส์ ทำให้นมยูเอชทีสามารถเก็บได้นานกว่านมพาสเจอร์ไรส์ โดยมีอายุการเก็บรักษาประมาณ 1 ปี เนื่องจากเป็นการฆ่าเชื้อ เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ทั้งหมด ซึ่งข้อเสียคือคุณค่าด้านสารอาหาร รสชาติ สี กลิ่น จะมีการเปลี่ยนไปมากกว่านมพาสเจอร์ไรส์

            แต่การเน่าเสียสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ถึงแม้ว่าจะกำจัดจุลินทรีย์ไปแล้ว แต่นมก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมี และทางกายภาพได้

 

แหล่งที่มา : Ted-Ed

ความคิดเห็น